JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2007-03-05
จำนวนสมาชิก : 579 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-12-24
จำนวนครั้งที่ชม : 14,266,306 ครั้ง
Online : 18 คน
จำนวนสินค้า : 347 รายการ
ทะเบียนพาณิชย์
สนใจ สงสัย ไลน์ มาได้

 
  ID ระบบ : @440aburo
ร้านค้า
ถูกใจ Like เลย
มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า จดทะเบียน
รวมผลงานบน YouTube
รวมบทความและผลงาน
โฆษณา Google Adsense


พื้นที่โฆษณา แลกลิ้งค์




มีผู้ชม 1445 ครั้ง
DCServo Motor Control Board 40A
DCServo Motor Control Board 40A DCServo Motor Control Board 40A DCServo Motor Control Board 40A
รหัสสินค้า : SVDC-40
ปกติ : 2,880.00
ลดเหลือ : ฿2,680.00 THB
จำนวน
 บอร์ดแปลง DCMotor ให้เป็น DCServo Motor แรงบิดสูง !!


   สำหรับงานหรือระบบควบคุมที่ต้องการใช้ Servo Motor ที่มีแรงบิดสูง อาทิ Robot Arms, ระบบผลัก ดัน วัตถุหนัก, ระบบบังคับเลี้ยวรถไฟฟ้าใหญ่ หรือจะเป็นการประยุกต์ใช้งานที่ต้องการ ทางกล โดยควบคุมได้ด้วย วิทยุบังคับ หรือ ควบคุมแบบ Manual ด้วยวอลุ่มบนบอร์ด Motor Driver On Board รองรับกระแสใช้งานปกติ ประมาณ 20A Peak 40A หากต้องการนำไปขับงานใหญ่ที่ใช้แรงบิดสูง ควรต่อพ่วงสัญญาณบนบอร์ดมาขับ Motor Driver ที่มีกำลังสูงขึ้นภายนอกแทน !!

   
**** ชุดไมโครคอลโทรเลอร์ ทำแบบถอดได้ ซึ่งเป็น Socket  เหมาะสำหรับ นักเรียน นักศึกษา และ นักวิจัยพัฒนา ที่ต้องการไปออกแบบ ทดลองเรียนรู้ เขียนโปรแกรมพัฒนาต่อยอดเองได้  มีวงจรให้ สะดวกโดยไม่ต้องไปเสียเวลาไปออกแบบวงจรทำ PCB ใหม่.... 

  รายละเอียด หลักการแนวทาง การออกแบบ :




    หลักการทำงานของ DC Servo Motor โดยพื้นฐานจะใช้ DCMotor เป็นต้นกำลังและทดรอบช้าเพื่อให้มีแรงบิด ในการนำไปใช้งานได้ตามต้องการ เรียกว่า ช้า แต่ มีกำลัง ใน การผลัก ดัน ลาก วัตถุ หรืองานที่มีภาระมาก ส่วนการที่จะควบคุมให้ไปในทิศทาง หรือหยุดในตำแหน่งที่ต้องการได้นั้น จะใช้  Positon Sensor ซึ่งง่ายและเข้าใจสุดคือ วอลุ่มที่เรารู้จักแต่ ต้องเลือกใช้วอลุ่มที่มีความทนทานสูงสักหน่อย เนื่องจาก วอลุ่มทำจากคาร์บอน แล้วใช้การหมุนกรีดลงไป บนคาร์บอน แปรเปลี่ยนเป็นค่าความต้านทาน และทางไฟฟ้าต่อไป นั่นเอง ซึ่งวอลุ่มสำหรับนำมาทำ ตัว Positon Sensor หรือตัว Feed Back ตำแหน่ง เพื่อนำไปเขียนโปรแกรม หรือ ทำวงจรควบคุมต่อไปนั่นเอง  แนวทางการศึกษาสร้าง สามารถดูได้จากลิ้งนี้ เครดิต  HOBBYIST.CO.NZ



 กราฟเปรียบเทียบ กำลังและขนาดของ Servomotor กับราคายิ่งกำลังสูง ราคาก็แสนแพงเลยทีเดียว จึงเป็นที่มาของ งานวิจัยพัฒนาตัวนี้ ที่ช่วยให้เรา ประยุกต์นำ DCMotor Gear รถไฟฟ้า มาทำเป็น DCServo Motor ได้ในราคาที่ไม่สูงมาก และสมารถต่อยอดพัฒนานำไปใช้กับ DCMotor ขนาดที่ใหญ่ขึ้นได้ตามต้องการ


รายละเอียด Port การต่อใช้งาน :

 
  

  VIN Motor : 

     +12/24V  เป็นไฟบวกแบตเตอรี่ หรือ แหล่งจ่าย สำหรับจ่ายให้ Motor Driver OnBoard รองรับ 12 - 24V 40A Peak Onboard Fuse ขนาด 20A (หากต้องการใช้งานมอเตอร์ที่มีกำลังสูงขึ้น สามารถหา 
Motor Driver ที่มีกำลังตามต้องการต่อภายนอกได้

     +12V เป็นไฟบวก 12V สำหรับแยกจ่ายเลี้ยงภาคไมโคร กรณีต้องการใช้ DCMotor Driver ทีมีขนาดใหญ่ 350W ขึ้นไป หรือแรงดันสูงกว่า 12V เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน หรือ Back EMF ที่อาจจะส่งผลให้ภาคควบคุมเสียหายได้
       
      GND ขั้วลบ ของแบตเตอรี่ หรือ แหล่งจ่ายไฟ

 
EXT MOTOR DRIVER I/P
 : 

      
เป็น Port สำหรับต่อใช้งานขับ Motor Driver ที่ต้องการ เช่นต้องการขับมอเตอร์ที่มีกำลังสูงขึ้น Port นี้จะเป็นช่องสัญญาณควบคุม Motor Driver ภายนอกได้นั่นเอง 


  DCMotor :    
 
      
สำหรับต่อ DCMotor ในการต่อใช้งานครั้งแรก เราอาจจะยังไม่รู้ ว่าทิศทางมอเตอร์หมุนไปทางไหน สายไหนต่อ บวก หรือ ลบ ไม่ต้องกังวลให้ต่อไปก่อน แล้ว ปรับ VR1 ให้น้อยสุด ที่มอเตอร์หมุนได้ เพื่อดูว่ามอเตอร์หมุนไปถูกต้องตามการควบคุมหรือไม่ หากหมุนผิดปกติ ควบคุมไม่ได้ หรือหมุนไม่หยุด แสดงว่า เราต่อสายสลับ กับทิศทางการหมุนของ VR Position หรือ VR Encoder ให้กลับสายมอเตอร์ใหม่นั่นเอง


  RC CONTROL :   

 
I/P สำหรับต่อรับสัญญาณจาก รีซีฟเวอร์ช่องที่ต้องการใช้งาน , GND และ 5V เป็นไฟเลี้ยงรีซีฟ

  VR POSITION : 

   
เป็น Port ต่อกับวอลุม 10K สำหรับเป็นตัว Feed Back Positon ซึ่งต้องต่อกับจุดหมุนที่ต้องการใช้งาน ควรทำ Joint แบบฟรีได้ เพราะหากเกิดติดตั้ง อะไรผิดพลาด วอลุ่มจะได้ไม่เสียหาย เพราะ วอลุ่มไม่ได้หมุนรอบ 360 องศา

  EXT I/P : 

  
เป็น Port สำหรับต่อรับสัญญาณควบคุมจากภายนอก รองรับแรงดัน 0 - 5V ได้ทั้ง PWM และ แรงดันแบบลิเนียปกติ กรณีใช้โหมดนี้ ต้องเซ็ท JP2 ให้ถูกต้อด้วย

  VR CONTROL : 

  
เป็น วอลุ่มสำหรับควบคุม หรือ ทดสอบการทำงานของมอเตอร์ด้วยมือ กรณีจะใช้งาน วอลุ่มนี้ ต้องเซ็ท JP1 ให้ถูกต้องด้วย

รายละเอียด Jumper และการปรับจูนใช้งาน :

  VR1  :
ลุ่มสำหรับปรับความไวในการทำงานของมอเตอร์ หากต้องการไวให้ปรับวนขวา หากต้องการ นิ่มนวลช้าลง ให้ปรับวนซ้าย
  
VR2  : สำหรับปรับมุมใช้งาน แคบกว้าง ตามต้องการใช้งาน

  JP1
 :  สำหรับเลือกโหมดการควบคุม ว่าจะควบคุมด้วย วิทยุบังคับ RC หรือ ว่าควบคุมด้วยวอลุ่มบนบอร์ด / สัญาณ pwm จากภายนอก 0-5V
  JP2 :  สัมพันธ์กับ JP1 เพราะหาก JP1 เลือกควบคุมด้วยวอลุ่มบนบอร์ด / สัญาณ pwm จากภายนอก JP2 สำหรับเลือกว่าจะใช้ วอลุ่มบนบอร์ด หรือ สัญาณ pwm จากภายนอกควบคุมนั่นเอง

  JP3
 :  การเป็น Jumper สำหรับเลือกแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงภาคควบคุมใช้แรงดัน 12V กล่าวคือถ้าแรงดันขับมอเตอร์ 12V  ให้เซ็ท JP3 เป็น 1-2 แต่หากใช้แรงดัน มอเตอร์ 24V ให้เลือกเซ็ท JP3 เป็น 2-3 และแนะนำหาแหล่งจ่าย 12V  แยกจ่ายเลี้ยงให้ Port 12V (เลี้ยงภาคไมโคร เพื่อป้องกัน BackEMF Motor ตีย้อนไมโครเสียหายได้)

ตัวอย่างคลิบทดสอบ :