JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2007-03-05
จำนวนสมาชิก : 579 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2025-01-08
จำนวนครั้งที่ชม : 14,362,847 ครั้ง
Online : 41 คน
จำนวนสินค้า : 348 รายการ
ทะเบียนพาณิชย์
สนใจ สงสัย ไลน์ มาได้

 
  ID ระบบ : @440aburo
ร้านค้า
ถูกใจ Like เลย
มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า จดทะเบียน
รวมผลงานบน YouTube
รวมบทความและผลงาน
โฆษณา Google Adsense


พื้นที่โฆษณา แลกลิ้งค์




มีผู้ชม 39206 ครั้ง
กล่องควบคุม กล่องควบคุม BLDC Motor 48/60V 1000W (Auto Sensorless)
กล่องควบคุม กล่องควบคุม BLDC Motor 48/60V 1000W (Auto Sensorless) กล่องควบคุม กล่องควบคุม BLDC Motor 48/60V 1000W (Auto Sensorless) กล่องควบคุม กล่องควบคุม BLDC Motor 48/60V 1000W (Auto Sensorless) กล่องควบคุม กล่องควบคุม BLDC Motor 48/60V 1000W (Auto Sensorless)
รหัสสินค้า : HFC-48100
ราคา ฿2,500.00THB
จำนวน
กล่องควบคุม HubMotor 48 / 60V 1000W 

(สามารถทำงานได้ด้วยสายมอเตอร์เพียง 3 เส้น ใช้เซ็นเซอร์  หรือ ไม่ใช้ก็ได้ ได้ทั้งมอเตอร์ 60 ° และ 120 °)


** กรณีต้องการนำไป ขับมอเตอร์สำหรับทำปั้มน้ำ  สามารถทำได้โดยเสริมวงจร Auto Start และ Soft Start ด้วย Arduino Microcontroller

ข้อมูลสายไฟเลี้ยงและคันเร่ง

 - ดำ-แดง (เล็ก) : มิเตอร์วัดไฟ (ไฟออก 48V ใช้ต่อแสดงผลที่คันเร่ง / ไฟหน้า)
 - ดำ-น้ำเงิน : มือเบรค
 - ดำ-แดง (ใหญ่) : แบตเตอรี่

 - น้ำตาล-น้ำเงิน (เล็ก) : ไฟออก 48V ไฟหน้า
 - เขียว เทา : ไฟออก 48V ไฟโชว์แบต 
 - ดำ เขียว แดง (ซ้อกเกตขาว) : คันเร่ง
 - น้ำตาล-เหลือง : สวิทช์ปิดเปิดการทำงานกล่องควบคุม (สวิทช์สีแดงที่คันเร่ง ดัดแปลงเป็นสวิทช์ธรรมดาได้)

 - ดำ เขียว แดง (ซ้อกเกตดำ) : ระบบช่วยปั่นอัจฉริยะ Padal Sensor (ไม่ได้ใช้)

สายมอเตอร์ แบ่งเป็น 2 ชุด
 - สายเซนเซอร์ 5 เส้น (เล็ก) แดง ดำ เหลือง เขียว น้ำเงินหรือฟ้า  (
หากต่อใช้ HallSensor มอเตอร์จะออกตัวละมุนกว่า)
 - สายไฟเมน 3 เส้น (ใหญ่) เขียว เหลือง น้ำเงิน/ฟ้า 

โหมดพิเศษอื่นๆ ในกล่อง (มี Port อยู่ด้านใน) วิธีใช้งานคือ Jump ลงกราว์ด (GND)

 - โหมดถอยหลัง (F3 / DC )
 - โหมดจำกัดความเร็ว (XS)
 - โหมดชะลอความเร็ว (F2)
 - โหมด Self Learning สำหรับโปรแกรมกำหนดทิศทางการหมุนของมอเตอร์ รับคำสั่งจากคันเร่ง (XX / 6-12)
 - Port อื่นๆ อยู่ในระหว่างทดสอบ


    **** ตำแหน่งที่น่าสนใจอีกอันนึงคือ ตำแหน่ง Q หรือ Cruise Control การทำงานคือจะ โปรแกรมล็อคความเร็วไว้ได้ที่ระดับที่ต้องการ โดยไม่ต้องบิดคันเร่ง การใช้งานคือปรับคันเร่งไว้ที่ระดับที่ต้องการและจับตำแหน่ง Q นี้ทริกลงกราว์ด และปล่อยคันเร่ง มอเตอร์จะหมุนได้เองที่ความเร้วล่าสุดที่เราบิดคันเร่งไว้ ช่วยให้สบายมือ กรณีเดินทางยาวๆ ถนนโล่งๆ ส่วนการยกเลิกระบบคือ การกดเบรค การบิดคันเร่งอีกครั้งนึง (แต่กล่องต้องรองรับ ระบบนี้ด้วย จากการทดสอบ ฟังชั่นนี้เป็นบางรุ่นที่ทำได้ แล้วแต่ IC Micro ที่ใช้งานว่าโปรแกรมฟังชั่นนี้มาหรือไม่)



********* กรณีต้องการให้ถอยหลังได้ ลูกค้าสามารถแจ้งให้ทางร้าน เซทกล่องไปให้ได้เลยครับ **********

หมายเหตุ : กรณีต้องการนำไปใช้ที่แรงดัน 60V เพื่อเพิ่มความเร้วให้ได้ 60กม/ชม. กล่องบางรุ่นต้องแกะฝาออกมาและทำการ Jump ที่จุดดังภาพเพื่อบอกให้กล่องรู้ว่าจะใช้แรงดันที่ 60V ไม่เช่นนั้นกล่องจะ Protect ไม่ทำงาน หากจะให้ดียิ่งขึ้นควรเปลี่ยน C470uF/63V เป็น 100V จะดีกว่า (แต่ที่ทางร้านทดสอบใช้งานยังไม่ได้เปลี่ยน C ดังกล่าว และยังใช้งานอยู่ที่แรงดันตอนแบตเต็มๆ 67V เพื่อทดสอบระบบเดิมๆ กรณีปรับไฟเป็น 60V หรือมากกว่า ต้องดูสเปคแรงดัน C ภายในให้เหมาะสมกับแรงดันที่จะใช้งานด้วย 



เด่วนี้กล่องรุ่นใหม่ ออกแบบวงจรมา ให้สามารถรองรับแรงดันได้หลากหลายแล้วแต่ลูกค้าสั่ง เพียงแต่เราต้อง Jump Setting ให้กล่องรับรู้ แรงดันที่เราจะใช้งาน แต่สำคัญคือ ต้องเปลี่ยน C470uF/63V จำนวน 3 ตัว ให้ทนแรงดันสูงขึ้น ให้เหมาะสมกับแรงดันที่ใช้งาน ไม่เช่นนั้น C จะระเบิดเสียหายได้ !!

   


การชาจ์ทกลับขณะปั่นเท้า :

     จาก การทดสอบปั่นด้วยเท้า โดยไม่บิดคันเร่งจะมีแรงดันระดับหนึ่ง ที่เกิดจาก HubMotor ไหลผ่าน Diode ในตัว FET ในวงจรของกล่องควบคุมเอง (ทำหน้าที่เป็น Rectify ไปในตัว) แต่ก็ต้องปั่นที่ความเร็วสูงๆ ให้ได้รอบจึงจะมีแรงดันที่มากพอ ในการชาจ์ทลงแบตเตอรี่่ได้นั่นเอง...


แถมท้ายด้วย มอเตอร์เรานั้นเป็นแบบกี่องศา 60 หรือ 120  (เพราะกล่องและมอเตอร์ต้ององศาเดียวกัน)

     ให้จ่ายไฟ 5V เข้าที่ขั้วไฟเลี้ยง Hall Sensor ของมอเตอร์ (สายดำ-แดง) จากนั้นให้ใช้ LED ต่อค่อมระหว่างทั้ง 3 สายที่เหลือลงกราวด์ เส้นละดวง (ต่อขั้วให้ถูกด้วยนะครับ ขา A ต่อกับสายเซนเซอร์ ขา K ต่อลงกราวด์ เด่วหลงทางแย่) จากนั้นให้ลองหมุนมอเตอร์ดู หากพบสถานะที่ LED ติดทีั้ง 3 ดวง และ ดับทั้ง 3 ดวง (สถานะเป็น "1" และ  "0" หมด) อันนี้คือ 60 องศาครับ ถ้าไม่ใช้อย่างนี้ก็ 120 ล่ะครับ แต่ถ้าหมุนแล้วดวงไหน หรือทุกดวงไม่ติดเลยดับตลอด อันนี้เช็คไฟเลี้ยง 5V และขั้วของ LED ให้ชัวว์ด้วยนะครับ เด่วหลงทางอีก !!!


ขนาด : 21 x 8.5 x 4.5 cm  (น้ำหนัก 550 กรัม)



**** Soft Start Modify



 

แถมท้าย อีก !!  BLDC Motor Control (sensor less) auto start for water pump V1.0 / กังหันตีน้ำ

    ประกอบ Board Arduino พร้อมโปรแกรมเรียบร้อย พร้อมใช้งาน ใช้ได้กับกล่องควบคุมที่ต้องการ เพิ่ม 800 บาท  
กรณีต้องการนำไป ขับมอเตอร์สำหรับทำปั้มน้ำ กังหันตีน้ำสำหรับ เสริมวงจร Auto Start และ Soft Start ด้วย Arduino Microcontroller แรงดันใช้งาน 25-30V กรณีกล่องควบคุม 24V และ 33-46V  กรณีกล่องควบคุม 36V หรือใช้งานแผง แรงดัน 30V ขึ้นไป  หรือ แล้วแต่ลูกค้าต้องการระบุย่านใช้งานที่ต้องการได้ตามสเปค

    
รุ่นปัจจุบันเพิ่ม Function ป้องกันกล่องควบคุมไม่ทำงานตอนเช้า เนื่องจากกล่องควบคุมบางค่าย บางรุ่น ตอนเช้าช่วงแดดไม่เพียงพอ กล่องจะทำงาน ติดๆ ดับๆ จนกล่องน็อค ติด Protect ไม่ทำงานนั่นเอง เรียกว่าระบบป้องกัน กล่องหลับเช้า ซึ่งจะทำงานโดยอัติโนมัติ


  กล่องควบคุมบัสเลท มอเตอร์ ส่วนใหญ่ มี 2 แบบ คือ แบบมี เซนเซอร์ มอเตอร์ และ แบบไม่มี เท่าที่ทราบ จากลูกค้าที่นิยมนำไปทำปั้มน้ำ ว่า....

  แบบต้องต่อ Sensor จะสามารถ ทำงานได้เอง แม้ คันเร่ง ไม่เริ่มจากศูนย์  จึงเหมาะสำหรับทำปั้ม เพราะ ไฟมา ทำงาน ไม่มีไฟ หยุดทำงาน แต่ ข้อเสียคือ หากเซนเซอร์ ในมอเตอร์เสีย ก็ ต้อง รื้อ มอเตอร์ เพื่อเปลี่ยน Hall Sensor ในมอเตอร์ ส่วนใหญ่ ก็จะ เปลี่ยนยก ชุด ทั้ง 3 ตัวเลย อีกทั้งหาก จะปรับเปลี่ยนทิศทางหมุนนั้น ต้องแก้ไขที่กล่องหาก กล่องมีโหมด กลับทางก็ OK แต่ถ้าไม่มี ต้องไล่สลับสาย กันวุ่นเลยทีเดียว

  แบบไม่ต้องต่อ Sensor หรือ ที่เรียกกันว่า Sensor less แบบนี้ ต่อแค่สายเฟสมอเตอร์ ก็ ทำงานได้แล้ว หาก ต้องการสลับทิศทาง ทำง่าย โดย การสลับสายมอเตอร์ คู่ใดคู่หนึ่ง ก็ สลับทิศทางการหมุนได้แล้ว  อีกทั้งไม่ต้องมาคอย กังวลว่า Sensor จะเสียมะไร ใช้กันยาวๆไปเลย แต่ ด้วยกล่องแบบนี้ มักจะมี ระบบ Safety ป้องกันอันตรายจาก การบิดคันเร่งค้างไว้ แล้ว จ่ายไฟเข้าระบบ เป็นข้อดี ในรถไฟฟ้า แต่ ไม่ดี สำหรับทำปั้มน้ำ...

   เพื่อแก้ไข จุดบอดนี้ จึงเป็นที่มา ของการทดลอง พัฒนากล่องควบคุม ประเภทนี้ ให้ Auto Start ได้เอง โดยการใช้โมดูลเสริม เพื่อตรวจจับแรงดันอินพุต และ ค่าของคันเร่งจากวอลุ่มควบคุมความเร็ว และมาควบคุมการทำงานของกล่องควบคุมอีกทีนั่นเอง....

 

ภาพด้านล่างเป็นเพียงภาพประกอบ ระหว่าง ทดสอบ ตัวสินค้าจริง บอร์ดไมโครจะถูกติดตั้งเข้าไป ในกล่องควบคุมอย่างเรียบร้อย





** ตัวอย่างคลิบแปลงกล่องควบคุมบัสเลทรถไฟฟ้า ได้ทุกแบบทุกขนาดให้ สามารถ Auto Run สำหรับงานโซลาร์เซลย์