JustMakeWeb.com รับทำเว็บไซต์ รับทำเว็บโรงแรม รับทำเว็บขายของ รับทำเว็บบริษัท เว็บสำเร็จรูป รับทำเว็บร้านค้า ออกแบบเว็บไซต์ ใช้งานได้ง่าย รองรับ SEO โปรโมท GOOGLE ให้ติดอันดับได้อย่างรวดเร็ว , ลงโฆษณาฟรี VPS ราคาถูก
รับทำเว็บไซต์
0
สถิติเว็บไซต์
เปิดเว็บเมื่อ : 2007-03-05
จำนวนสมาชิก : 579 คน
ปรับปรุงเมื่อ : 2024-12-24
จำนวนครั้งที่ชม : 14,259,804 ครั้ง
Online : 52 คน
จำนวนสินค้า : 347 รายการ
ทะเบียนพาณิชย์
สนใจ สงสัย ไลน์ มาได้

 
  ID ระบบ : @440aburo
ร้านค้า
ถูกใจ Like เลย
มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า จดทะเบียน
รวมผลงานบน YouTube
รวมบทความและผลงาน
โฆษณา Google Adsense


พื้นที่โฆษณา แลกลิ้งค์




sunpower

มีผู้ชม 11398 ครั้ง
Flexible sunpower panel Solarcell !!!
Flexible sunpower panel Solarcell !!! Flexible sunpower panel Solarcell !!! Flexible sunpower panel Solarcell !!! Flexible sunpower panel Solarcell !!! Flexible sunpower panel Solarcell !!! Flexible sunpower panel Solarcell !!! Flexible sunpower panel Solarcell !!! Flexible sunpower panel Solarcell !!!

สินค้าหมด


สินค้าเลิกขายชั่วคราวครับ เนื่องจากพบปัญหา ไม่ทนทาน กรณีนำไปติดตั้งกับพื้นที่เคลื่อนที่ สั่นสะเทือน !!

"ที่ยังคงลงไว้ ก็เพื่อเป็นข้อมูล สำหรับผู้สนใจ พึงระวัง ในการใช้งาน"

Flexible sunpower panel Solarcell !! (น้ำหนักเบา บิดงอได้) 


สินค้า Pre Order มัดจำ 30% รอสินค้า 15-20 วัน จัดทำตามสเปคได้ !!

1. Back Contact solar panels for off-grid and on-grid systems
2. Sunpower cells from USA Sunpower Corporation
3. 19%-23% high efficiency. 
4. Back contact solar cells looks more beautiful and amazing.

The high efficiency solar PV module adopts the world's highest efficiency cell with efficiency up to 23%, and efficiency of the module is 25-30% higher than the traditional ones, this cell’s positive pole and the negative pole are on the same side, the cell’s front side can absorb maximum sunlight , so that it can get the maximum power. 

Flexile solar panels with Sunpower cells are mainly used for electronic golf cars, yachts, RV boat, caravans, knapsack, tent, etc...



 

++++   Flexible Sunpower solar panel specificaton:(no frames, no glass) ++++

   หมายเหตุ : VOC  คือ แรงดันวัดขณะไม่มีโหลด (เปิดวงจร) 
                      ISC  
คือ กระแสวัดแบบจับลัดวงจร (Short Circuit)
                      VMP  คือ แรงดันที่กำลังสูงสุด (ใช้งาน มีโหลด)

                      IMP  คือ กระแสที่กำลังสูงสุด (ใช้งาน มีโหลด)  
 
    
    
ตัวอย่าง DataSheet ของแผงขนาด 295W
 
 
 
   
รถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 
Flexible Solarcell 295W x 3 จ่ายไฟให้กับ
Hubmotor 48V1000W
 
 
    แนวทางการทดลอง :

  
 เพื่อทดสอบแผงโซาร์เซลล์รุ่นใหม่ Flexible sunpower panel Solarcell !! ประสิทธิภาพสูง เบาบาง ขนาด 295W ด้วยน้ำหนักเพียง 5 kg. แถมโค้งงอเข้ารูปได้ง่าย ทำให้ประหยัดเนื่อที่กว่าแผงโซลาร์เซลล์รุ่นก่อนๆ ที่มีข้อจำกัดด้วยขนาด และน้ำหนักมหาศาล 20 กว่ากิโล ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 10-15% ซึ่งด้วยข้อดีเรื่องน้ำหนัก จึงทำให้ผมกลับมาวิจัยทดลองรถไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบ 100% อีกครั้ง เพราะเห็นความเป็นไปได้ในการจ่ายกระแสและแรงดันของแผง  จึงจะทำการทดลอง Motor , Battery และ Solar Cell ดังนี้

  - ทดสอบการจ่ายพลังงานจากแผง Solar Cell เพื่อขับเคลื่อน HubMotor 48V1000W 100% โดยไม่ใช้แบตเตอรี่ 
ผลการทดลอง : สามารถจ่ายไฟให้มอเตอร์ได้กระแส 8A และแรงดัน 60V ซึ่งเพียงพอจ่ายพลังงานให้กับมอเตอร์ให้รถวิ่งได้ในแนวราบ ตัวอย่างคลิปในหมวด "การวิจัยและพัฒนา"
 
     - หาความเร็วสุงสุดที่ทำได้ จากการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 100% 
       ผลการทดลองมากกว่า 20 กม/ชม.

     - ต่อร่วมกับ Grid Tie Invertor ขนาด 1500W (45-90VDC Input) เพื่อจ่ายไฟคืนกลับสู่การไฟฟ้าเวลาไม่ได้ใช้งานรถ จอดตากแดดอยู่กับที่ ซึ่งตอนนี้ทดลองใช้ Solar cell แบบ Poly ขนาด 120W x 4 กับ Grid Tie Invertor 500W
      ผลการทดลอง : ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าและจ่ายคืนการไฟฟ้า ดังคลิปในหมวด "การวิจัยและพัฒนา" หัวข้อ 1.4
 
    - ทดลองระบบชาจ์ทแบตเตอรี่ในระบบ (LiFePO4 60V10AH) ด้วยพลังงานจาก Solar Cell 295W ทั้ง 3 แผงนี้
      ผลการทดลอง : สามารถชาจ์ทแบตได้กระแส 4A สามารถชาจ์ทแบตให้เต็มได้ภายใน 3 ชม. และตัดการชาจ์ทอัติโนมัติโดยแผง BMS ที่แรงดัน 73V (3.65V / Cell) ตามที่คาดการณ์ไว้ซึ่งเป็นผลพลอยได้ของการใช้แบตประเภทนี้ที่มี BMS คอยดูแลแบตแต่ละเซลล์ ทั้ง 20 cell
 
   ข้อแนะนำ ในการใช้งาน   :  
  
     
การนำไปใช้งานแนะนำให้วางแบบแนวราบดีกว่า ที่จะไปโค้งงอแผ่น เนื่องจากปัญหาที่พบโดยตรง จากการทดลองใช้คือ กำลังหรือประสิทธิภาพแผงจะตกเพราะ Cell บางจุดอยู่ในมุมที่อับแสงจะส่งผลให้กำลังโดยรวมของแผงตกลงไป เนื่องจากในแผงจะประกอบด้วย Cell จำนวนมาก (แล้วแต่แรงดันของแผง) หากแรงดันสำหรับ 48V จะใช้ Cell เต็มๆ ทำให้จำนวน Cell ที่ใช้น้อยลง แต่หากแรงดัน 70V ขนาด 295W นี้มีมากถึง 270 cell โดยจะอนุกรมกัน 150 cell อีกชุด 120 cell และนำมาขนานกัน
 
    ข้อดีของแผงแบบนี้ :
 
 
       
1. ขนาดที่เบามากสะดวกในการติดตั้ง ด้วยน้ำหนักน้อยกว่าแผงแบบธรรมดาที่ใช้กรอบอลูมิเนียมและกระจกถึง 6 เท่าโดยประมาณ ที่ขนาดกำลังไกล้เคียงหรือเท่ากัน 
 
        2. Cell ไม่แตกเสียหายง่ายเหมือน Cell แบบธรรมดาทั่วไป แต่ร้าวได้จากการบิดงอไปมาหลายๆ ครั้ง ซึ่งยังคงสามารถจ่ายไฟ ทำงานได้อยู่

        3. จุดเชื่อมต่อหรือที่เรียกว่า Bus อยู่ด้านหลัง Cell ทำให้ดูเรียบร้อย ซึ่งจะไม่โดนแดดตรงๆ จะทนกว่า Cell แบบเดิมๆ ที่มี Bus อยู่ด้านบน

        4 . กันน้ำได้ 100% แม้จมน้ำเพราะ ด้านหลังเคลือบด้วย PVC สีขาว ด้านหน้าเป็นซิลิโคนใสแข็ง ผ่านกระบวนการอบด้วยความร้อนปิดผนึกในการผลิต (ที่ทราบเพราะตอนที่หาวิธีแกะ PVC สีขาวเพื่อเก็บภาพมาให้ดูกันนี้ ต้องใช้ Hot Air ความร้อนกว่า 300-400 องศาเป่าจึงจะลอก PVC นี้ออกมาได้โดยง่าย


 
 ด้านหลังของ Cell จะเห็นว่าลายเชื่อมต่อจะอยู่ด้านหลัง
ต่างกับโซลาร์เซลล์แบบเดิมๆ ที่ต้องเดินสายทั้งด้านบนและล่างของ Cell ทำให้ไม่สวยงามและโดนแดดเสือมได้
  จุดเชื่อมต่อระหว่าง Cell to Cell Bus และด้านหลังของ Cell จุดเชื่อมต่อบัดกรีง่าย โดยการขูดจุดที่จะบัดกรี    ข้อดีอีกอย่างของ SunPower Cell คือเซลล์แตก ร้าวยังคงทำงานได้ แต่กระแสจะตก ตราบใดที่ Layer ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้า เส้นสีขาวเล็กๆ เหล่านี้ไม่ขาดจากกัน
  กระแส ISC หรือแบบจับช็อตโดยตรง กระแสค่อนข้างสูง แม้เป็นแดดยามเช้า ประมาณ 9 โมงก็ตาม ซึ่งอันตรายหากทดสอบกระแสแบบนี้ ตอนแดดแรงๆ วัดแช่นานเกินไป กระแสสุงถึง 5A จะทำให้จุดเชื่อมตามด้านบนเกิดการอาร์คและเสือมได้ ส่งผลให้ประสิธิภาพแผงตกลงไป (กำลังตก) คลิบวิดิโอเทคโนโลยีของ SunPower Solarcell